เปรียบเทียบ PBM(Photomodulation) กับ TMS(Transcranial magnetic stimulation)
Photobiomodulation เป็นขั้นตอนที่ไม่รุกรานเป็นเทคโนโลยีใหม่ของการกระตุ้นสมองที่ใช้ LED หรือเลเซอร์เพื่อส่งพลังงานแสงในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้ถึงอินฟราเรดไกล (800 – 1,000+ นาโนเมตร) ไปยังสมอง
การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กด้วย TMS เป็นขั้นตอนที่ไม่รุกรานซึ่งใช้สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นสนามแม่เหล็กจะส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองผ่านการเหนี่ยวนำเพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาทในสมอง
Photobiomodulationของสมอง (PBM) ใช้โฟตอนสีแดงNear-infrared เพื่อกระตุ้นเอนไซม์ไซโตโครม ซี ออกซิเดส ของห่วงโซ่ระบบทางเดินหายใจของไมโตคอนเดรีย Cytochrome c oxidase เปิดรับพลังงานแสง ส่งผลให้การสังเคราะห์ ATP เพิ่มขึ้น นำไปสู่การสร้างพลังงานของเซลล์มากขึ้น นอกจากนี้ การดูดกลืนโฟตอนโดยช่องไอออนยังส่งผลให้เกิดการปลดปล่อย Ca 2+ ซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นการทำงาน
TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายกับเครื่อง MRI เป็นคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุผ่านอวัยวะต่างๆ เข้าไปได้ลึก ประมาณ 1-3 เซนติเมตร เพี่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่างๆ จะใช้หัว coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วยโดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
ออทิสติก สมาธิสั้น LD โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ อาการปวดศีรษะเรื้องรัง ไมเกรน
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ อาการปวดศีรษะเรื้องรัง ไมเกรน
เกิดเมแทบอลิซึม เกิดการเติมออกซิเจนในสมอง เกิดฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดความเป็นพิษ ขยายหลอดเลือดสมอง
โดยนำหมวกที่ติดตั้ง Near-infrared มาส่วมใสที่ศีรษะ วิธีการดังกล่าวไม่ทำผู้เข้ารับการทำเจ็บหรือ
เกร็งใดๆป่วย
โดยนำหัวส่งคลื่นแม่เหล็ก มาวางที่ศีรษะหรือจุดที่ต้องการ รักษา วิธีการดังกล่าวไม่ทำผู้เข้ารับการรักษาเจ็บหรือเกร็งใดๆป่วยอาจรู้สึกถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อบ้าง แต่จะไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย
อุปกรณ์จะใช้ Near-infrared LED ติดตั้งในหมวก วางเหนือกะโหลก
LED จำเป็นต้องสร้างพลังงานเพียงพอโดยมี ความยาวคลื่นที่เหมาะสมเพื่อฉายแสงเข้ากะโหลก
มีพัลส์หรือความถี่ ที่สามารถเลือกค่าให้เหมาะสมเพื่อเข้าไปกระตุ้น การทำงานของคลื่นสมอง
อุปกรณ์ TMS มักประกอบด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็ก และคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่และกำลังไฟฟ้า ขาออก
อาจมีอาการ ปวดหัว ฝันร้าย ในบางคน
อาจมีอาการในบางคน คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน มีเสียงดังในหู